พั้นช์, ไพลอตพั้นช์ (PUNCHES, PILOT PUNCHES)
งานปั๊มโลหะแผ่นจำนวนมากจะมีการเจาะรูขนาดเล็กๆ โดยเฉพาะขนาดที่สามารถอยู่ในวงกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 45 มม. พั้นช์หรือเข็มเจาะรูที่ใช้จึงได้มีการออกแบบขึ้นมาเป็นมาตรฐานต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการเลือกใช้งานอย่างเหมาะสม พั้นช์มาตรฐานสามารถแบ่งเป็นประเภทหลักๆ ได้ดังนี้
1. แบ่งตามประเภทเกรดเหล็กที่ใช้ทำ
1.1 เหล็ก SKD11 จะเป็นเกรดมาตรฐานสำหรับใช้งานทั่วไป
1.2 เหล็ก High speed (SKH51) จะนิยมใช้ในงานปั๊มที่มีจำนวนมากหรือปั๊มโลหะแผ่นที่ค่อนข้างแข็ง เช่น เหล็กสแตนเลส
1.3 เหล็ก Powder high speed HAP40 จะใช้สำหรับงานปั๊มที่ต้องการให้พั้นช์มีอายุการใช้งานสูงสุด
2. แบ่งตามรูปทรงหลักของพั้นช์และวิธียึดพั้นช์ แบ่งหลักๆ ได้ดังนี้
2.1 พั้นช์มีบ่า โดยทั่วไปพั้นช์มีบ่ามาตรฐานจะมีความหนาบ่า 5 มม. และจะเป็นที่นิยมใช้โดยทั่วไป พั้นช์สำหรับงานหนัก จะมีความหนาบ่า 8 มม. ค่า R ของมุมระหว่างลำตัวกับหัวพั้นช์มากขึ้น และขนาดหัวโตขึ้น เพื่อช่วยให้พั้นช์แข็งแรง เหมาะสำหรับใช้เจาะรูบนแผ่นเหล็กหนา
2.2 พั้นช์แบบมีเกลียว นิยมใช้น้อยกว่าพั้นช์มีบ่า การยึดพั้นช์แบบนี้จะใช้สกรูมายึดเกลียวที่โคนพั้นช์ไม่ให้หลุดจากแผ่น punch holder
2.3 พั้นช์แบบมีร่องลิ่ม เหมือนกับพั้นช์แบบมีเกลียว ที่นิยมใช้น้อยใช้ในกรณีที่การใช้พั้นช์มีบ่าไม่เหมาะสมและไม่สามารถ ใช้พั้นช์แบบมีเกลียวได้ การยึดพั้นช์จะทำโดยใช้ลิ่มล็อคที่ร่องที่ลำตัวพั้นช์กับหน้าแผ่น Punch Holder
2.4 พั้นช์แบบบอลล็อค จะใช้เม็ดลูกปืนล็อคพั้นช์ที่มีร่องอยู่ นิยมใช้ในแม่พิมพ์ที่ต้องการเปลี่ยนพั้นช์อย่างรวดเร็ว พั้นช์ประเภทนี้ จะกล่าวถึงรายละเอียดในบทถัดไป
3. แบ่งตามขนาดลำตัวหลัก และความยาวของพั้นช์
พั้นช์มาตรฐานจะมีการกำหนดค่าเส้นผ่าศูนย์กลางของลำตัวจาก 3 มม. ถึง 45 มม. และความยาวตั้งแต่ 40 มม. ถึง 150 มม. โดยที่ขนาดของปลายพั้นช์ที่ใช้งานจะต้องเล็กกว่าค่าเส้นผ่าศูนย์กลางของ ลำตัว รูปทรงของปลายพั้นช์ที่ใช้เจาะรูที่นิยมใช้จะเป็นรูปหลักซึ่งถือเป็นมาตรฐานอยู่ 5 รูป คือ สำหรับรูปทรงอื่นถือว่าเป็นรูปร่างพิเศษ ปลายพั้นช์ที่มีคมตัดเป็นรูปร่างต่างๆ ข้างต้น จะมีความยาวคมตัด (ค่า B) อยู่ 3 ขนาดให้เลือกคือ รุ่นสั้น (S), รุ่นยาว (L) และรุ่น ยาวพิเศษ (X)
4. นอกจากการแบ่งตามประเภทข้างต้น ยังมีการแบ่งอื่นๆ เพื่อให้สะดวกในการใช้งาน ดังนี้
4.1 แบ่งตามค่า Tolerance ของเส้นผ่าศูนย์กลางลำตัวหลักของพั้นช์ ซึ่งแบ่งเป็นค่า m5 สำหรับใช้งานทั่วไป และ ค่า สำหรับงานละเอียด
4.2 ผิวของปลายคมตัดปกติเป็นผิวเจียรนัย สำหรับงานทั่วไป หรือเป็นผิวขัดมัน (Lapping) ที่เหมาะสำหรับใช้ในงานละเอียด และต้องการให้พั้นช์มีอายุทนทานขึ้น พั้นช์ที่มีปลายเป็นผิวขัดมันจะมีค่าพิกัดน้อยลงด้วย
4.3 มี Center Hole ที่กลางลำตัวพั้นช์ ช่วยให้การกำหนดตำแหน่งพั้นช์บน Upper Plate ทำได้ง่าย รวดเร็ว และเป็นที่นิยม ใช้ในการสร้างแม่พิมพ์ปั๊มตัวถังรถยนต์ โดยใช้คู่กับ Punch Retainers
4.4 มีสปริงภายใน (Jector Punches) พั้นช์ที่มีสปริงภายในลำตัวพั้นช์จะช่วยดันไม่ให้เศษโลหะที่เกิดจากการปั๊มหลุดลอย จาก Die มาบนหน้าแม่พิมพ์ได้ พั้นช์ประเภทนี้นิยมใช้ในแม่พิมพ์ที่ปั๊มด้วยความเร็วสูง เพราะการที่เกิดเศษโลหะหลุด ลอยจาก Die มาบนหน้าแม่พิมพ์อาจทำให้แม่พิมพ์เกิดความเสียหายขณะใช้งานได้ นอกจากนั้นการใช้ Jector Punch สามารถกำหนดให้ค่า Clearance ระหว่าง Punch และ Die มีค่ามากกว่าสำหรับ Punch ปกติได้ถึง 2 เท่า ทำให้พั้นช์ มีอายุการใช้งานทนทานขึ้น
4.5 มีการเจียรปลายพั้นช์เป็น 2 Steps เพื่อช่วยให้ปลายพั้นช์แข็งแรงขึ้น จะนิยมใช้กับพั้นช์ที่มีปลายเล็กและยาว
4.6 มีการเจียรข้างลำตัว เพื่อให้การยึดพั้นช์ในบริเวณที่มีพื้นที่จำกัดทำได้ง่าย สำหรับไพลอตพั้นช์ ก็จะมีการแบ่งคล้ายๆ กับพั้นช์มาตรฐาน
ขอขอบคุณที่มาจาก : http://www.industry.co.th/t1/knowledge_detail.php?id=1809&uid=37157
Last News
|
|
พั้นช์, ไพลอตพั้นช์ (PUNCHES, PILOT PUNCHES)
พั้นช์มีบ่า โดยทั่วไปพั้นช์มีบ่ามาตรฐานจะมีความหนาบ่า 5 มม. และจะเป็นที่นิยมใช้โดยทั่วไป พั้นช์สำหรับงานหนัก จะมีความหนาบ่า 8 มม. ค่า R ของมุมระหว่างลำตัวกับหัวพั้นช์มากขึ้น และขนาดหัวโตขึ้น เพื่อช่วยให้พั้นช์แข็งแรง เหมาะสำหรับใช้เจาะรูบนแผ่นเหล็กหนา
|
|
|
เอ็นมิล (Endmill)
เอ็นมิล (Endmill) ในปัจจุบันมีให้เลือกมากมาย เช่นรูปทรง การเคลือบผิว หลายคนจึงอาจสับสนในการเลือกให้ Endmill ให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยการเลือกใช้ Endmill ควรพิจารณาตั้งแต่ลักษณะของ เอ็นมิล (Endmill) คุณสมบัติของวัตถุดิบ และการกระบวนการทำงาน เช่น เหล็กคาร์บอนทั่วไป และเหล็ก Tool Steelนั้นมีลักษณะที่แตกต่างกัน
|
|
|